top of page

                                                                                      แผนงาน

                                                        โครงการสวัสดิการพันธุ์หมื่นให้สู่สังคมไร้เงินสด

1. ความคิดริเริ่ม แนวคิดในการสร้างกระบวนการเรียนรู้และการพึ่งตนเอง                           

            การรวมกลุ่มของบุคคล ชุมชน องค์กรที่เห็นพ้องต้องกันในการดำเนินการร่วมกันทำประโยชน์ให้ ชุมชนในด้านวิสาหกิจชุมชน OTOP และ SMEs กลุ่มเกษตรกร เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน เครือข่ายผู้บริโภค สร้างอาชีพ สร้างงาน เรียนรู้ มั่งมี มั่งคั่ง ยั่งยืน โดยการสนับสนุนส่งเสริมโดยบริษัทพันธุ์หมื่นให้ กับโครงการ สวัสดิการพันธ์หมื่นให้ สู่สังคมไร้เงินสด ตามแผน          ยุทธศาสตร์ดังต่อไปนี้ ยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนสวัสดิการ (quote) ให้ประสบความสำเร็จ มีอยู่ (2) ยุทธศาสตร์ ดังนี

 

ยุทธศาสตร์ที่ (1.) สร้างตำบลในฝัน โดยกำหนดให้มีสวัสดิการร้านค้าเป็นอู่ข่าวอู่น้ำประจำตำบล เป็นศูนย์รวม จิตใจของสมาชิกทั้งตำบล ประกอบไปด้วย (2) กลยุทธ์ กลยุทธ์ที่

          (1.1) สร้างทีมผู้นำ นำไปสู่การสร้างความเข้าใจ ให้กับชุมชนเพื่อเป็นสมาชิก สวัสดิการ กลยุทธ์ที่

         (1.2) สร้างสวัสดิการร้านค้าลงสู่ชุมชน เป็นสถานที่ซื้อ-ขายสินค้า ทางออนไลน์และออฟไลน์

ยุทธศาสตร์ที่ (2). สร้างความโปร่งใส มีธรรมาภิบาลแก้ปัญหาการฉ้อโกงทุจริตคอรัปชั่น สร้างรายได้ที่มั่นคง ยั่งยืนและสามารถพึ่งพาตนเองได้ ในรูปแบบ ของสมาชิก ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ ดังนี้ กลยุทธ์ที่

        (2.1) สร้างเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูง นั่นคือแพลตฟอร์มอัจฉริยะ ปราศจากการบริหาร ด้วยคน นำไปสู่เทคโนโลยีที่เรียกว่าบล็อกเชน บริหารจัดการ กำไรที่เกิดจาก รายจ่ายที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน กลับมาเป็นรายได้ของสมาชิก สามารถเกษียณตนเองและมีบำนาญรายเดือนเกิดขึ้น เป็นมรดกตกทอด ให้กับ ลูกหลานต่อไป กลยุทธ์ที่

        (2.2) แก้ปัญหาผู้สูงวัยคนชราคนพิการให้ได้รับการดูแลจากสวัสดิการสามารถพึ่งพาตนเอง ได้โดยที่ไม่ต้องพึ่งพาลูกหลาน กลยุทธ์ที่

       (2.3) แก้ปัญหาสมาชิกมาเป็นคนสุดท้าย จะต้องมีรายได้ที่มั่นคงและยั่งยืน หากไม่ได้แนะนำ สมาชิกต่อ กลยุทธ์ที่

      (2.4) สมาชิกสวัสดิการทุกคนจะมีเงินออมเกิดขึ้น เรียกว่าเงินออมรายปี ที่เกิดจากการลงทุน ของบริษัท โดยนำผลกำไรมาแบ่งปันให้กับสมาชิกทุกคนด้วย ความเท่าเทียมกัน

2. ความสามารถในการบริหารจัดการองค์กร

        ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ เป้าหมายของบริษัท และองค์กรกลุ่ม นำมติที่ประชุมขับเคลื่อน ยุทธศาสตร์ความมีส่วนร่วม ความสามัคคี ให้มีวงจรการบริหารงานคุณภาพ (Plan-Do-Check-Act) การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการดำเนินกิจกรรม ทั้งด้านการพัฒนาองค์กรกลุ่ม ด้านการพัฒนาอาชีพ การลงทุน ด้านพัฒนาการตลาด และด้านการขนส่งโลจิสติก

2.1. โครงสร้างและบทบาทหน้าที่

       โครงการสวัสดิการพันธุ์หมื่นให้ได้กำหนดโครงสร้างการบริหารงานและการประสานงาน คณะกรรมการบริหารและสมาชิกของเครือข่ายผู้บริโภคผ่านร้านค้าสวัสดิการพันธุ์หมื่นให้ในแต่ละตำบล

          คณะกรรมการบริหาร

         การกำหนดโครงสร้างคณะกรรมการบริหารร้านค้าสวัสดิการพันธุ์หมื่นให้ ประกอบด้วยประธาน รอง ประธาน ที่ปรึกษา กรรมการ เลขานุการ ผู้ช่วยเลขานุการ การเงิน/บัญชีและกรรมการบริหารฝ่ายต่าง ๆ โดย กรรมการแต่ละฝ่ายจะมีการกำหนดบทบาทหน้าที่รับผิดชอบตามภารกิจ โดยการแต่งตั้งตามความถนัดของแต่ ละคน

2.2. แผนการดำเนินงาน

        บริษัทพันธุ์หมื่นให้ มีการกำหนดแผนการดำเนินงานของโครงการสวัสดิการพันธุ์หมื่นให้สู่สังคมไร้เงิน สด ตั้งแต่การกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ ปรัชญา พันธกิจ และทิศทางของโครงการในการ ดำเนินการไว้ ดังนี้

             2.21 การกำหนดเป้าหมายและทิศทาง

         วิสัยทัศน์ ( VISION ) : เป็นผู้นำด้านการแปลงทุกรายจ่ายที่จำเป็นในชีวิตประจำวันของมนุษย์ทั้ง โลกกลับมาแบ่งปันเป็นรายไดที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ด้วยแพลตฟอร์มอัจริยะ สวัสดิการพันธุ์หมื่นให้กำไร แบ่งปันสู่สังคมไร้เงินสด

           ปรัชญา ( PHILOSOPHY ) : เกษตรกร มั่งคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ด้วยสวัสดิการพันธุ์หมื่นให้ กำไรแบ่งกัน สู่สังคมไร้เงินสด

           พันธกิจ ( WISSION ) : เราจะทำทุกรายจ่ายที่จำเป็นในชีวิตประจำวันของมนุษย์เรา มาบริหาร จัดการ แบ่งปันผลกำไร นำไปช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ด้วยความโปร่งใส มีธรรมาภิบาล สู่การสร้างสังคมแห่ง ความสุข บนโลกไร้พรหมแดน ด้วยแพลตฟอร์มอัจฉริยะ สวัสดิการพันธ์หมื่นให้ กำไรแบ่งกัน สู่สังคมไร้เงินสด

วัตถุประสงค์( OBJECTIVE ) :

1. เพื่อเป็นสวัสดิการช่วยเหลือเกษตรกรให้มีรายได้จากการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน

2. เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ สู่ยุคสังคมไร้เงินสด

3. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนชุมชนให้เข้มแข็ง ละพึ่งตนเองได้ (เก็บออม)

4. เพื่อส่งเสริมอาชีพเกษตรกร

5. สนองตอบนโยบายรัฐบาย

   เป้าหมาย ( GOAL ) :

1. สร้างเครือข่ายผู้บริโภค แปลงรายจ่ายที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน มาบริหารจัดการ ด้วยแพลตฟอร์ม

     อัจฉริยะ สวัสดิการพันธุ์หมื่นให้กำไรแบ่งกัน

2. เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้สู่สังคมไร้เงินสด

3. สร้างหลักประกันที่มั่นคงของมนุษย์ จากการกินใช้ในชีวิตประจำวัน สามารถเกษียณตนเองได้แบบ มั่นคงและยั่งยืน ด้วยการพึ่งตนเอง

คำขวัญ : สวัสดิการพันธุ์หมื่นให้สร้างสังคมแห่งความสุข

       สวัสดิการพันธุ์หมื่นให้ นำไปสู่การแก้ปัญหา ความยากจนของชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ลด ช่องว่างระหว่างคนจน คนรวย สร้างวัฒนธรรมการเป็นผู้ให้ สู่การเป็นผู้นำสีขาว

2.2.2 กำหนดแผนการดำเนินงานของโครงการสวัสดิการพันธุ์หมื่นให้ สู่สังคมไร้เงินสด และ กิจกรรมต่างๆ

        บริษัทพันธุ์หมื่นให้มีการประชุมคณะกรรมการและสมาชิกเพื่อกำหนดแผนโครงการสวัสดิการพันธุ์ หมื่นให้สู่สังคมไร้เงินสด โดยการจัดทำเวทีเรียนรู้เพื่อจัดทำแผนพัฒนากลุ่มและแผนการดำเนินงานแต่ละปี เพื่อกำหนดเป้าหมายและทิศทางการประกอบกิจกรรมเพื่อนำไปสู่การดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องโดย สอดคล้องกับนโยบาลรัฐบาล และเชื่อมโยงชุมชน นอกจากนี้ยังเข้าร่วมการจัดทำแผนชุมชน โดยผู้นำชุมชนใน แต่ละตำบลทั่วประเทศ เพื่อสร้างตำบลในฝัน สร้างสวัสดิการร้านค้าชุมชน ประชาชนในชุมชนไม่ว่าจะเป็น ผู้ สูงวัย คนชรา คนพิการ สามารถเข้ามาเป็นสมาชิก มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการผ่านผู้นำชุมชน มีรายได้ตก ทอดถึงลูกหลาน อย่างยั่งยืน มั่นคง

2.2.3. บทบาทและการมีส่วนร่วมของสมาชิกต่อองค์กร

         1. การมีส่วนร่วมในขั้นตอนต่างๆ ของการพัฒนาโครงการและร้านค้าสวัสดิการพันธุ์หมื่นให้

         - คณะกรรมการและสมาชิกในแต่ละตำบลร่วมกันคิดและกำหนดวิสัยทัศน์ เสนอ ความคิดเห็นในการหาความรู้ โดยส่งตัวแทนเข้าร่วมการสัมมนา การทัศนะศึกษาดูงาน การนำองค์ความรู้ ต่าง ๆ ที่ได้รับเพื่อวางแผนการพัฒนาเครือข่ายและสมาชิก

        - คณะกรรมการและสมาชิกในแต่ละตำบลร่วมแสดงความคิดเห็นในการดำเนินงาน ของร้านค้าสวัสดิการพันธุ์หมื่นให้ การประชุมประจำเดือน การประชุมเฉพาะกิจ และการประชุมประจำปี - คณะกรรมการและสมาชิกในแต่ละตำบลร่วมรับผลประโยชน์ โดยมีการแบ่งปัน ผลกำไรให้แก่สมาชิกทุกเดือน และทุกปีจากการซื้อกินซื้อใช้ในระบบร้านค้าสวัสดิการ และระบบออนไลน์ผ่าน แพลตฟอร์มอัจฉริยะ PMH.

        2. การมีส่วนร่วมในการพัฒนาสมาชิกและสินค้า และผลิตภัณฑ์ 

        - คณะกรรมการและสมาชิกโครงการ ร่วมกันคิดและร่วมตัดสินใจในการดำเนินงาน ที่เกิดจากแกนนำในชุมชนตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน การดำเนินชีวิตประจำวัน รวมทั้งการพัฒนาต่อ ยอดของผลิตภัณฑ์

       - คณะกรรมการและสมาชิกในตำบลร่วมลงมือทำ โดยร่วมกันบริหารจัดการ ร้านค้าสวัสดิการพันธุ์หมื่นให้ของตนเอง โดยเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการและมีการกำหนดบทบาทหน้าที่อย่าง ชัดเจน มีการรวมหุ้น เป็นพาร์สเนอร์กับองค์กรกลุ่ม หรือในภาคีเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนนั้น ๆ

        - คณะกรรมการและสมาชิกในตำบลมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายในการ พัฒนาวิสาหกิจชุมชน OTOP และ SMEs กลุ่มเกษตรกร โดยมีการจัดทำแผน วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของร้านค้า และมีการประเมินศักยภาพร้านค้า

       - ผู้นำและสมาชิกในตำบลเข้ารับการฝึกอบรมและดูงานต่างๆโดยการสนับสนุน ส่งเสริม ของคณะกรรมการบริหารโครงการสวัสดิการพันธุ์หมื่นให้ เพื่อพัฒนาร้านค้าสวัสดิการครบงจร

2.2.4 ความมั่นคงและฐานะทางเศรษฐกิจขององค์กร ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อชุมชน

          - มีเป้าหมายและแผนในการดำเนินสวัสดิการให้แก่สมาชิกในอนาคต

          - มีแนวทางในการลดความเสี่ยงโดยการส่งเสริมให้สมาชิกวิสาหกิจชุมชน ดำเนินโครงการ

เกษตรปลอดภัย โฮมสเตร์ ร้านอาหาร เป็นอาชีพเสริมให้แก่สมาชิกลุ่ม ทั้งนี้เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่ง

          - สมาชิกมีสวัสดิการอย่างเป็นระบบ โดยกำหนดนโยบาย หรือแนวทางจากโครงการ

          - จัดให้มีการมีการรับสมาชิกเพิ่มขึ้น ครอบคลุ่มทุกตำบลทั่วประเทศ

          - มีการเตรียมความพร้อมในการสืบทอดโครงการ ร้านค้าสวัสดิการในอนาคตของตำบล โดยรับสมัครสมาชิกใหม่เข้ามาร่วมดำเนินงานของโครงการ และสนับสนุนคนรุ่นใหม่ในตำบลให้เป็นกรรมการ และทำงานร่วมกันในกลุ่ม ตกทอดผลประโยชน์การแบ่งปันสู่ลูกหลาน

           - มีการพัฒนากลุ่มโดยเป็นศูนย์เครือข่ายผู้บริโภคในการฝึกอบรมและการศึกษาดูงานในเรื่อง การผลิตการตลาด การวิจัย การพัฒนานวัตกรรมต่างๆ เพื่อให้สมาชิกในชุมชนและเกษตรกรทั่วไปมาศึกษาดู งาน เพื่อผลประโยชน์ต่อองค์กร กลุ่ม สังคม และประเทศชาต

2.2.5. การทำกิจกรรมด้านสวัสดิการชุมชน สาธารณประโยชน์ การอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

          โครงการสวัสดิการพันธุ์หมื่นให้มีการทำกิจกรรมด้านสาธารณประโยชน์แก่ชุมชน และชุมชนยอมรับ และให้การรับรอง ไม่ว่าจะเป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล รวมถึงชาวบ้านทั่วไป การ จัดสวัสดิการต่างๆ เช่น วันเด็ก วันผู้สูงอายุกิจกรรมด้านกีฬานันทนาการต่าง

3. สรุปปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จ ขององค์กร

            การดำเนินการในขั้นตอนการทำงานต่างสามารถตรวจสอบและพัฒนาจุดด้อย สร้างความเข้มแข็งให้ จุดเด่นต่อเนื่อง มีความซื่อสัตย์สามัคคี สร้างผลงานให้บังเกิดขึ้นผลดีแก่องค์กรและชุมชนภาคีเครือข่าย ผู้บริโภค การมีส่วนร่วมของสมาชิกในการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม ผลิตสินค้าและบริการ ของวิสาหกิจชุมชน OTOP และ SMEs กลุ่มเกษตรกรในความหลากหลาย จัดสรรค์สวัสดิการชุมชน สาธารณะประโยชน์ และการ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พัฒนาต่อยอดด้านการตลาด ด้านการพัฒนาและการลงทุน ด้านการพัฒนาองค์กร ด้าน ระบบโลจิสติกส์สู่สังคมไร้เงินสด เป็นต้น

                        

 

                             การนำรูปแบบแนวทางการดำเนินงานที่สอดคล้องตามรูปแบบแผนปฏิรูปประเทศ ฉบับปรับปรุง 2564

bottom of page